คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีได้รับจัดตั้งขึ้นเป็นคณะลำดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยจัดตั้งขึ้นตามโครงการที่ได้กำหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2517 ในระยะแรกใช้ชื่อว่า คณะมนุษยศาสตร์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในวันที่ 17 มีนาคม 2518 ปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ผลิตบัณฑิตสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้งในระดับปริญญาตรี 18 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 2 สาขาวิชาและระดับปริญญาเอก 1 สาขาวิชา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เปิดรับนักศึกษา รุ่นแรก เมื่อปีการศึกษา 2518 คณะมีประวัติการจัดตั้ง และการดำเนินงานโดยสังเขป ดังนี้
2518
|
ตั้งภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก ภาควิชาภาษาตะวันตก ภาควิชาสังคมศาสตร์ สำนักงานเลขานุการคณะ และเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก |
2521
|
ทบวงมหาวิทยาลัยยกฐานะหน่วยวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ |
2521 |
เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม |
2525
|
จัดตั้งภาควิชาปรัชญาและศาสนา |
2529
|
เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย |
2530
|
เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ |
2533
|
เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา |
2534
|
จัดตั้งภาควิชาภาษาตะวันออก (แยกออกจากภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก) |
2535
|
จัดตั้งภาควิชาประวัติศาสตร์และศิลปะ (แยกออกมาจากภาควิชาสังคมศาสตร์) |
2538
|
จัดตั้งภาควิชาภูมิศาสตร์ (แยกออกมาจากภาควิชาสังคมศาสตร์) เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร และสาขาวิชาปรัชญา |
2539
|
เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ |
2542
|
เปลี่ยนชื่อภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ |
2543
|
เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม |
2547
|
เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย |
2548
|
เปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรนานาชาติ) |
2549
|
เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์พัฒนาการ |
2550
|
แผนกวิชารัฐศาสตร์ ได้แยกตัวออกไปจัดตั้งเป็นคณะรัฐศาสตร์ |
2552
|
เปลี่ยนชื่อภาควิชาประวัติศาสตร์และศิลปะ เป็น ภาควิชาประวัติศาสตร์ |
2554
|
ปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์พัฒนาการ เป็นหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา และแขนงวิชาเศรษฐกิจอาเซียน ปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอาหรับ เป็น สาขาวิชาภาษาอาหรับ-ภาษาอาหรับธุรกิจ |
2555
|
ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ เป็น แขนงวิชาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ และแขนงวิชาการบัญชี และเปิดสอนหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ (สาขาวิชาใหม่) |
2560 |
เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรภาษายุโรป (เป็นหลักสูตรรวมกันของภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน) |
2561 |
เปิดสอนภาษาอินโดนีเซียเป็นวิชาโท |
2563 |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้แบ่งโครงสร้างองค์กรเป็น 4 กลุ่มงาน
1. กลุ่มงานบริหารคณะ แบ่งเป็น 5 กลุ่มย่อย ดังนี้ 1.1 กลุ่มยุทธศาสตร์และระบบคุณภาพ และสื่อสารองค์กร 1.2 กลุ่มบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล 1.3 กลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ 1.4 กลุ่มวิชาการ 1.5 กลุ่มกิจกรรมนักศึกษา ศิษย์เก่าและการต่างประเทศ
2. กลุ่มงานวิชาการ มีทั้งหมด 21 หลักสูตร ดังนี้ 2.1 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 2.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ 2.3 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ 2.4 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ 2.5 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา 2.6 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม 2.7 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น 2.8 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเกาหลี 2.9 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน 2.10 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายู 2.11 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษายุโรป 2.12 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีไทย 2.13 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 2.14 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอาหรับและภาษาอาหรับธุรกิจ 2.15 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชามลายูศึกษา 2.16 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 2.17 หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต 2.18 หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต 2.19 หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย 2.20 หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม 2.21 หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
3. กลุ่มงานวิจัยและนวัตกรรม มี 1 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์วิจัยภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้
4. กลุ่มงานพันธกิจเพื่อสังคม มี 2 ศูนย์ ได้แก่ 1. ศูนย์ภาษาไทยสงขลานครินทร์ 2. ศูนย์นูซันตาราศึกษา
|
|
ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอน 3 ระดับ ดังนี้
1. ระดับปริญญาตรี จำนวน 5 หลักสูตร 18 สาขาวิชา คือ
- ศิลปศาสตรบัณฑิต 14 สาขาวิชา 6 แขนงวิชา ได้แก่
1. ภาษาและวรรณคดีไทย
2. ปรัชญาและศาสนา / ศิลปะการคิดเพื่อการพัฒนามนุษย์
3. พัฒนาสังคม
4. สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (ประกอบด้วยแขนงวิชาสังคมวิทยาและแขนงวิชามานุษยวิทยา)
5. การจัดการสารสนเทศ
6. ประวัติศาสตร์
7. ภาษาญี่ปุ่น
8. ภาษาเกาหลี
9. ภาษาจีน
10. ภาษามลายู
11. มลายูศึกษา
12. ภาษาอาหรับและภาษาอาหรับธุรกิจ (ประกอบด้วยแขนงวิชาภาษาอาหรับและแขนงวิชาภาษาอาหรับธุรกิจ)
13. ภาษาอังกฤษ
14. ภาษายุโรป (ประกอบด้วยแขนงวิชาภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน)
- วิทยาศาสตรบัณฑิต 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาภูมิศาสตร์
- เศรษฐศาสตรบัณฑิต
- สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ได้แก่ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์
- บริหารธุรกิจบัณฑิต
2. ระดับปริญญาโท หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่
1. สาขาวิชาภาษาไทย
2. สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม
3. ระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) จำนวน 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาภาษาไทย
สีของคณะ คือ สีขาว (รหัสสี #FFFFFF)