หัวข้อในการนำเสนองาน
ผลงานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชา ดังนี้
1. ภาษาและวรรณคดีเกาหลี
2. การสอนภาษาเกาหลี
3. เกาหลีศึกษา เช่น สังคม, วัฒนธรรม, เศรษฐกิจ, ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง
ทั้งนี้ ผลงานฉบับบทคัดย่อ (Abstract) ที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว จะได้รับการตีพิมพ์ในเอกสารประกอบการประชุม
โดยจะจัดส่งให้เจ้าของผลงานโดยตรงในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ (PDF) และสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารประกอบการประชุมได้จากเว็บไซต์ http://huso.pn.psu.ac.th/kor2/
การส่งผลงานและการลงทะเบียนเข้าร่วมงาน
1. จัดส่งบทคัดย่อฉบับภาษาไทย หรือภาษาเกาหลี และฉบับภาษาอังกฤษ (Abstract) โดยมีความยาวของบทคัดย่อรวมกันไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ตามรูปแบบที่กำหนด สามารถดาวน์โหลดรูปแบบการพิมพ์ คลิกที่นี้ และจัดส่งบทคัดย่อได้ที่ http://huso.pn.psu.ac.th/kor2/
2. กรณีบทความได้รับการพิจารณาคัดเลือก ให้จัดส่งผลงานฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) มีความยาวของเนื้อหา 10 – 15 หน้า ขนาดกระดาษ A4 ตามรูปแบบที่กำหนด สามารถดาวน์โหลดรูปแบบการพิมพ์ได้ที่ คลิกที่นี้ และจัดส่งบทความมายัง E-mail : korhusopsu@gmail.com
2. ระบบจะตอบรับการลงทะเบียนเข้าร่วมงานโดยอัตโนมัติสำหรับผู้นำเสนอบทความทุกท่าน
หมายเหตุ
1) บทความวิจัยที่นำเสนอต้องเป็นบทความที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน
2) ผู้สมัครต้องจัดส่งบทคัดย่อและบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาเกาหลี เพียงรูปแบบเดียวเท่านั้น
2.1) กรณีส่งบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นภาษาเกาหลีและนำเสนอด้วยภาษาเกาหลี ให้นำส่งบทความวิจัยฉบับย่อเป็นภาษาไทยด้วย ความยาวไม่เกิน 5 กระดาษ A4
2.2) กรณีส่งบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นภาษาไทยและนำเสนอด้วยภาษาเกาหลี ให้นำส่งบทความวิจัยฉบับย่อเป็นภาษาเกาหลีด้วย ความยาวไม่เกิน 5 กระดาษ A4
3) ผู้สมัครต้องจัดส่งบทคัดย่อฉบับภาษาอังกฤษ (Abstract) ประกอบการพิจารณาด้วย
4) ผู้สมัครต้องระบุภาษาที่ใช้ในการนำเสนอด้วยภาษาไทยหรือภาษาเกาหลีเพียงรูปแบบเดียวเท่านั้น
รูปแบบการนำเสนอบทความวิจัย
1. การนำเสนอบทความในรูปแบบการบรรยาย (Oral Presentation) ด้วยภาษาเกาหลี ผู้นำเสนอต้องจัดเตรียมเนื้อหาหรือสื่ออื่น ๆ ประกอบการบรรยายเป็นภาษาเกาหลี
2. การนำเสนอบทความในรูปแบบการบรรยาย (Oral Presentation) ด้วยภาษาไทย ผู้นำเสนอสามารถเตรียมเนื้อหาการบรรยายด้วยภาษาไทยหรือภาษาเกาหลีได้ตามความเหมาะสม
3. กำหนดให้ผู้นำเสนอบทความได้เพียง 1 คน / ต่อ 1 บทความเท่านั้น แต่ในบทความวิจัยสามารถปรากฏชื่อผู้เขียนได้ไม่เกิน 3 คน (ไม่นับรวมอาจารย์ที่ปรึกษาบทความวิจัย)
4. การนำเสนอด้วยการบรรยายต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีระยะเวลารวม 25 นาที (นำเสนอ 20 นาที และการถาม – ตอบ 5 นาที)
5. การจัดส่งไฟล์การนำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft Power Point หรือ ไฟล์ PDF หรือสื่ออื่น ๆ ตามความเหมาะสม
สิ่งที่ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับ
1. กรณีผู้นำเสนอบทความ
1.1 สนับสนุนค่าที่พัก จำนวน 2 คืน วันที่ 1 - 2 ธันวาคม 2565 ณ กระบี่รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ (ห้องละ 2 ท่าน)
1.2 มีการจัดเลี้ยงอาหารว่าง อาหารกลางวัน และอาหารเย็น (ตลอดการจัดประชุม)
1.3 สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางแบบเหมาจ่าย จำนวน 1,000 บาท/ต่อ 1 บทความ
1.4 กรณีผลงานที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้นำเสนอ จะได้รับเงินสนับสนุนการนำเสนอบทความ จำนวน 1,000 บาท/ต่อ 1 บทความ
1.5 ผู้นำเสนอและผู้เขียนบทความทุกคนจะได้รับประกาศนียบัตรการนำเสนอบทความวิจัย
2. กรณีผู้สนใจทั่วไป
2.1 สมัครเข้าร่วมงานฟรี
2.2 มีการจัดเลี้ยงอาหารว่าง และอาหารกลางวัน (ตลอดการจัดประชุม)